หน้าตัวอย่าง

มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2562/63

          ศรีสะเกษ ได้รับแจ้งจากกรมการค้าภายใน ว่า จากการประชุม หารือร่วมกับผู้ประกอบการค้าข้าว ธ.ก.ส. กรมส่งเสริมสหกรณ์ สมาคมธนาคารไทย องค์การคลังสินค้า เพื่อประเมินสถานการณ์ราคาข้าวเปลือกซึ่งมีแนวโน้มอ่อนตัวลงในขณะนี้ พบว่า มีสาเหตุเนื่องมาจากผลผลิตข้าวนาปี 2562/63 โดยเฉพาะข้าวเปลือกหอมมะลิ กำลังทยอยเก็บเกี่ยวออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม จากการประเมินของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ผลผลิตข้าวเปลือกหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณลดลงจากเป้าหมาย เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้ง อุทกภัย และการระบาดของโรค ไหม้คอรวงข้าว

เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากในขณะนี้ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้เห็นชอบกรอบการใช้เงินงบประมาณปี 2563 จำนวนรวมทั้งสิ้น 4,289.86 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังได้อนุมัติ การใช้เงินแล้ว โดยเป็นมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2562/63 (คู่ขนานกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1) วงเงิน 2,572.50 ล้านบาท ได้แก่

(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก โดยให้สินเชื่อเกษตรกรรายบุคคล และสถาบันเกษตรกร เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง เป้าหมาย 1 ล้านตัน ข้าวเปลือก โดยให้ค่าใช้จ่ายในการฝากเก็บตันละ 1,500 บาท วงเงิน 1,500 ล้านบาท และชดเชยดอกเบี้ยให้เกษตรกรเป็นระยะเวลา 5 เดือน

(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวม ข้าวโดยสถาบันเกษตรกร โดยสนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร เพื่อรวบรวมข้าวเปลือก เพื่อจำหน่าย และ/หรือ เพื่อการแปรรูป โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระดอกเบี้ยในร้อยละ 3 ต่อปี วงเงิน 562.5 ล้านบาท

(3) โครงการชดเชย ดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก เป้าหมายให้ผู้ประกอบการค้าข้าว ที่เข้าร่วมโครงการฯ รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรแล้วเก็บเป็นระยะเวลา 2 – 6 เดือน โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 วงเงิน 510 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 นี้

สำนักงานเกษตรอำเภอขุนหาญ เตรียมพร้อมการขึ้นทะเบียน และปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ผู้ปลูกพืชหลังนา ปีการผลิต 2563

      สำนักงานเกษตรอำเภอขุนหาญ เตรียมพร้อมการขึ้นทะเบียน และปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ผู้ปลูกพืชหลังนา ปีการผลิต 2563  เพื่อรองรับมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล หากไม่ได้ปรับปรุงสถานภาพติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี จะสิ้นสถานภาพการเป็นเกษตรกร

       วันที่ 7 มกราคม 2563  ที่ผ่านมาสำนักงานเกษตรอำเภอขุนหาญ  จัดเตรียมความพร้อมการขึ้นทะเบียน และปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกพืชหลังนา เพื่อรองรับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ หากรัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร เช่นปี 2562 ที่ผ่านมา

   นายพนม คงสีไพร เกษตรอำเภอขุนหาญ บอกว่าตามที่รัฐบาลเคยมีนโยบายการช่วยเหลือเกษตรกร ผ่านโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกพืชหลังนา ปี2561/62 ไร่ละ 600 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการช่วยเหลือการบริหารจัดการน้ำที่เพิ่มขึ้น และการบริหารจัดการศัตรูพืชที่สูงขึ้น กว่าฤดูกาลปกติ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพและเป็นการลดภาระค่าครองชีพควบคู่กับการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรให้รักษาศักยภาพการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 นึ้งต้องเตรียมพร้อมทั้งบุคคลากร และอุปกรณ์เพื่อให้ทันต่อการรับบริการของเกษตรกรในครั้งนี้

สำหรับทะเบียนเกษตรกร คือข้อมูลของครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตร ที่แสดงถึงสถานภาพและการประกอบอาชีพทางการเกษตรของครัวเรือน ทั้งนี้การขึ้นทะเบียนเกษตรกร ถือเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่เปิดให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนเพื่อปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรทุกปี เพื่อให้ทางราชการได้รู้ข้อมูลการเพาะปลูกของแต่ละปี ว่าเกษตรกรปลูกพืชอะไร เนื้อที่เท่าไหร่ ไว้เป็นข้อมูลประเมินภาวะผลผลิตของแต่ละปี และนำไปใช้ในการเป็นข้อมูลเพื่อรองรับมาตรการต่างๆ ตามนโยบายของภาครัฐ

          ส่วนข้อมูลปลูกพืชหลังนา ปี 2561/62  ที่ผ่านมา อำเภอขุนหาญ มีปลูกพืชหลังนา 20,643 ไร่  จำนวนเกษตรกร 2,384 ครัวเรือน คิดเป็นงบประมาณที่ทางรัฐบาลช่วยเหลือ 12,385,800 บาท

โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562/63

นายพนม คงสีไพร เกษตรอำเภอขุนหาญ ประชาสัมพันธ์ ตามที่ ครม.มีมติเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562/63 วงเงิน 923,332,332.80 ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้

              กำหนดประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562/63 ที่ความชื้น 14.5% กิโลกรัมละ 8.50 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ โดยเริ่มเพาะปลูกระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 – วันที่ 31 พฤษภาคม 2563

               เกษตรผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกและแจ้งระยะเวลาเก็บเกี่ยวกับกรมส่งเสริมเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

               การจ่ายเงิน รัฐบาลจะเริ่มจ่ายเงินงวดแรกในวันที่ 20 ธันวาคม 2562 สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 19 ธันวาคม 2562 และจะจ่ายต่อไปในทุกวันที่ 20 ของเดือน จนถึงระยะเวลาสิ้นสุดการรับสิทธิตามโครงการฯ คือ 31 ตุลาคม2563 โดยมี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง

              ทั้งนี้ ครม.ยังเห็นชอบโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตร ปี 2562/63 วงเงิน 1,500 ล้านบาท โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อนละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน วงเงินชดเชย 45 ล้านบาท

             ซึ่งทาง ธ.ก.ส.เป็นผู้จัดสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และวิสากิจชุมชนที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และหรือใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ นำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมและรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อจำหน่ายต่อ แปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และเพื่อช่วยดูดซับปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงที่ผลผลิตออกมามาก

                  นอกจากนี้ ครม.ยังรับทราบมาตรการบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562/63 ตามที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) เสนอ มีรายละเอียดดังนี้

   1.การบริหารจัดการการนำเข้า โดยกำหนดช่วงเวลาการนำเข้าให้นำเข้าเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – สิงหาคม ของทุกปี ยกเว้นองค์การคลังสินค้า (อคส.) หากมีนโยบายให้นำเข้าการควบคุมการขนย้ายในพื้นที่ติดชายแดนเพื่อนบ้าน กำหนดสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลีต่อการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็น 1 ต่อ 3 การตรวจสอบการลักลอบการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน โดยกรมศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายความมั่นคงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

2.การดูแลความเป็นธรรมในการซื้อขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กำหนดให้ผู้รับซื้อต้องแสดงราคา ณ จุดรับซื้อที่ความชื้น 14.5% และ 30% พร้อมแสดงตารางการเพิ่มลดราคาตามเปอร์เซ็นต์ความชื้น และกำหนดให้ใช้เครื่องชั่งน้ำหนักและเครื่องวัดความชื้นที่มีมาตรฐาน

3.การดูแลความสมดุล โดยแจ้งปริมาณการครอบครอง การนำเข้า สถานที่เก็บ และการตรวจสอบสต็อก

4.เพิ่มช่องทางการจำหน่าย โดยเชื่อมโยงผลผลิตกับผู้รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ท่านสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอขุนหาญ โทรศัพท์ 045-679243 E-mail knunhan_sisaket@doae.go.th

โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังปี 2562/63

นายพนม​ คงสีไพร​ เกษตรอำเภอขุนหาญ
แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปีการผลิต 2562/63 หากเกษตรกรท่านใดมั่นใจว่าจะไม่ปลูกเพิ่มในแปลงใหม่อีกแล้ว สามารถกดยืนยันสิทธิ์ผ่านฟาร์มบุ๊ค (Farmbook) หรือแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานเกษตรอำเภอได้ทันที
.
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลักดันโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังปี 2562/ 63 เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้สูงขึ้น
.
คณะอนุกรรมการฯ ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง ประจำวันที่ 1 มกราคม 2563 เพื่อใช้ในการชดเชยส่วนต่าง ตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังปี 2562/63 (งวดที่ 2) หัวมันสำปะหลังสดเชื้อแป้ง 25 % กิโลกรัมละ 2.24 บาท การชดเชยส่วนต่างราคา ระหว่างราคาเป้าหมาย(กิโลกรัมละ 2.50 บาท) กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงที่มีอัตราส่วนต่างที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรใช้ในการจ่ายให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง สำหรับการจ่ายเงินงวดที่ 2 คือกิโลกรัมละ 0.26 บาท
.
โดยเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร (ทบก.) และแจ้งปลูกมันฯ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 61 และเก็บเกี่ยวภายใน 30 พ.ย. 63
.
ทั้งนี้ เกษตรกรจะต้องยืนยันขอรับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการในระบบทะเบียนเกษตรกร เพื่อให้ ธกส. โอนเงินส่วนต่างให้ตามสิทธิ์แต่ถ้าเกษตรกรยังไม่ยืนยันในระบบ ธกส.จะยังไม่โอนเงินส่วนต่างให้ โดยแปลงที่เข้าร่วมโครงการจะนับสิทธิ์สูงสุดตามโครงการ คือ 100 ตัน (คิดเป็นพื้นที่ 28.35 ไร่) หากเกษตรกรยังแจ้งปลูกไม่ครบตามสิทธิ์ (28.23 ไร่) กรมส่งเสริมการเกษตรจะไม่ส่งรายชื่อให้ธกส.
.
หากเกษตรกรท่านใดมั่นใจว่าจะไม่ปลูกเพิ่มในแปลงใหม่อีกแล้ว สามารถกดยืนยันสิทธิ์ผ่านฟาร์มบุ๊ค (Farmbook) หรือแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานเกษตรอำเภอได้ทันที>>
.
เงินช่วยเหลือได้รับเพียงครั้งเดียวตลอดโครงการ<<

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : สนง.เกษตรอำเภอขุนหาญ​ โทร​045-679243 หรือ​ เกษตรตำบลที่รับผิดชอบ​ ตามlink http://khunhan.sisaket.doae.go.th/บุคคลากร/

————->_<———- Cr.เกษตรตำบล​ 

โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562/2563

           นายพนม คงสีไพร เกษตรอำเภอขุนหาญ  เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562/2563 เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรอันเนื่องมาจากปัญหาผลผลิตปาล์มล้นตลาดและราคาผลผลิตตกต่ำ โดยกำหนดรายได้ที่เหมาะสมที่เกษตรกรควรได้รับจากการขายผลปาล์มทะลาย (คุณภาพน้ำมัน 18%) ที่กิโลกรัมละ 4 บาท ซึ่งเกษตรกรที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กรมส่งเสริมการเกษตร มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยตามพื้นที่ที่ปลูกจริง แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 25 ไร่ และเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้วมีอายุไม่น้อยกว่า 3 ปี ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 – กันยายน 2563 ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562/2563 จะทำหน้าที่กำหนดราคาตลาดอ้างอิง เพื่อใช้ในการคำนวณเงินชดเชยส่วนต่างระหว่างอัตราประกันรายได้ กับราคาตลาดอ้างอิง เพื่อแจ้ง ธ.ก.ส. ใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณเงินชดเชยส่วนต่างและโอนเงินให้แก่เกษตรกรต่อไป สำหรับในวันนี้ราคาตลาดอ้างอิงผลปาล์มทะลาย (คุณภาพน้ำมัน 18%) กิโลกรัมละ 2.68 บาท เกษตรกรจะได้รับชดเชยส่วนต่างกิโลกรัมละ 1.32 บาท ในครั้งนี้จะมีเกษตรกรที่มีคุณสมบัติถูกต้องได้รับเงินทั้งสิ้น 254,730 ราย เป็นเงิน 1,351 ล้านบาท

            สำหรับขั้นตอนในการจ่ายเงินประกันรายได้ เมื่อ ธ.ก.ส. ได้รับข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร จะทำการประมวลข้อมูลพื้นที่การผลิต คำนวณปริมาณผลผลิต และเลขที่บัญชีเงินฝากของเกษตรกร เมื่อได้รับแจ้งราคาตลาดอ้างอิง ธ.ก.ส.จะทำคำนวณเงินชดเชยตามสิทธิ์ และจะทำการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรโดยตรง โดยกำหนดเป็นงวด ๆ ละไม่น้อยกว่า 45 วัน เริ่มจ่ายเงินงวดแรกในวันที่ 1 ต.ค. 2562งวดต่อไปจ่ายในวันที่ 1 หรือ 16 หากตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะเลื่อนกำหนดจ่าย
เร็วขึ้น (วันทำการก่อนวันหยุด) ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ที่ Link:http://chongkho.inbaac.com

มาตรการจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด

นายพนม คงสีไพร เกษตรอำเภอขุนหาญ แจ้งมาตรการจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศเกี่ยวกับข้อบังคับในการใช้สารทั้ง 3 ชนิด โดยมีผลบังคับใช้
วันที่ 20 ตุลาคม 2562 ซึ่งเกษตรกรผู้ใช้จำเป็นต้องศึกษาข้อกำหนดในประกาศนี้

This image has an empty alt attribute; its file name is 2_thumbnail.jpg
This image has an empty alt attribute; its file name is สารเคมี_3_สาร_02.jpg

สารเคมีทั้ง 3 ชนิด ห้ามใช้ในพื้นที่ปลูกพืชผักหรือพืชสมุนไพร พื้นที่ต้นน้ำ และพื้นที่สาธารณะ

This image has an empty alt attribute; its file name is สารเคมี_3_สาร_03.jpg
This image has an empty alt attribute; its file name is สารเคมี_3_สาร_04.jpg