ข้อมูลการผลิตมันสำปะหลัง

ข้อมูลด้านการเกษตรที่สำคัญ

อำเภอขุนหาญ มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 309,266 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การปลูกข้าว มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวในปีเพาะปลูก 2558/2559 รวม 159,534 ไร่ พื้นที่ปลูกยางพารา 61,029 ไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 34,768 ไร่ และทุเรียน 2,582 ไร่ โดยจำแนกพื้นที่ทำการเกษตรที่สำคัญได้ ดังนี้

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ

ที่ ชนิดพืช  จำนวนราย  จำนวนไร่
1 ข้าวนาปี 11,480 159,534
2 ยางพารา 4,232 61,029
3 มันสำปะหลัง 3,164 34,768
4 ทุเรียน 322 2,582

ที่มา:สำนักงานเกษตรอำเภอขุนหาญ

3 พื้นที่ตามเขตความเหมาะสม

– มันสำปะหลัง

ตามการจำแนกพื้นที่เขตความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกมันสำปะหลังของ กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกิดจากการนำข้อมูลความเหมาะสมของดินในแต่ละชนิดพืชมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลปัจจัยการเจริญเติบโตของพืช แบ่งเกณฑ์ความเหมาะสมออกเป็น   ๔ ระดับ คือ S1 เหมาะสมมาก,S2 เหมาะสมปานกลาง ,S3 เหมาะสมน้อย และ N ไม่เหมาะสม ซึ่งอำเภอ   ขุนหาญ มีการกำหนดพื้นที่การจัดการตามความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ทั้งหมด 31,459    ไร่ เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) 16,574 เหมาะสมน้อย (S3) 3,782 ไร่ ไม่เหมาะสม (N) 4,923 ไร่    พบเป็นพื้นที่ป่า 1,450 ไร่  สามารถจำแนกพื้นที่เป็นรายตำบลได้ ดังนี้

ภาพ  แสดงพื้นที่ความเหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง อำเภอขุนหาญ

สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน

          – มันสำปะหลัง

อำเภอขุนหาญ มีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง (ข้อมูลการเพาะปลูก ปี 2557/58)      ทั้งหมด 34,522 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 12 ตำบล จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 3,411 ครัวเรือน     จำแนกพื้นที่เพาะปลูกเป็นรายตำบล ดังนี้

         ตาราง   แสดงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง อำเภอขุนหาญ

ภาพ   แสดงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง อำเภอขุนหาญ

สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ภาพ   แสดงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง อำเภอขุนหาญ

ข้อมูลด้านสินค้า

ข้อมูลการผลิต

                    – มันสำปะหลัง

          พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง (ข้อมูลการเพาะปลูก ปี 2557/58) ทั้งหมด 34,522 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 12 ตำบล 145 หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 3,411 ครัวเรือน มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของอำเภอ มีพื้นที่เพาะปลูกมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากข้าว และยางพารา สามารถปลูกได้ 1 ครั้ง/ปี ส่วนใหญ่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝน ไม่เคยพบการระบาดของโรคที่รุนแรง เก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนธันวาคม – เมษายน ผลผลิตที่ได้ 120,827 ตัน/ปี ผลผลิตเฉลี่ย 3.5 ตัน/ไร่

          3.1.1 สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิต

วิธีการปลูกมันสำปะหลัง

                   1.การเตรียมดิน ครั้งแรก ไถกลบวัชพืช ลึกประมาณ 20 – 30 ซม. ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 ไถพรวน แล้วยกร่องปลูก ระยะห่างระหว่างต้น 50 – 100 ซม. ระยะห่างระหว่างแถว 80-120 ซม.

                   2.การเตรียมท่อนพันธุ์ ใช้ท่อนพันธุ์อายุ 10 – 12 เดือน ตัดไว้ไม่เกิน 15 วัน ตัดท่อนพันธุ์ยาวประมาณ 20 -25 ซม. แล้วแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยน้ำยาเพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์ และป้องกันการเข้าทำลายยอดอ่อนมันสำปะหลัง สารเคมีที่แนะนำให้เกษตรกรใช้แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก ได้แก่

ไทอะมีโทแซม        25% WG อัตรา 4 กรัม ต่อน้ำสะอาด 20 ลิตร

อิมิดาคลอปิด           70% WG อัตรา 4 กรัมต่อน้ำที่สะอาด 20 ลิตร

ไดโนทีฟูแรน          10%  WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำสะอาด 20 ลิต

                    พันธุ์

                    พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ เกษตรศาสตร์ 50 , ระยอง 72

                   พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50

การจัดการดิน

          หลังจากการเก็บเกี่ยวเกษตรส่วนใหญ่จะทำการไถเตรียมดิน 2 ครั้ง ด้วยผาน 3 ลึกประมาณ 8-12 นิ้ว โดยไถกลบมันสำปะหลังที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวในฤดูเพาะปลูกที่ผ่านมา แล้วทิ้งไว้ประมาณ 30 วันเพื่อให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยในดิน แล้วจึงไถด้วยผาน 7 อีก 2-3 ครั้ง แล้วทำการยกร่องปลูก เกษตรกรบางรายจะทำการปรับปรุงดินโดยใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ในขั้นตอนเตรียมดิน อัตรา 500 – 1,000 กก./ไร่

          การใช้สารเคมี

          1. มีการใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดก่อนงอก(ยาคุมหญ้า)ฉีดพ่นหลังการปลูก

          2. มีการใช้สารกำจัดวัชพืชที่ขึ้นระหว่างแถวมันสำปะหลังตามความจำเป็น สลับกับการใช้จอบถาง

          3. มีการใช้สารกำจัดศัตรูพืชพวกแมลงต่างๆ เช่น ไรแดง เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว เมื่อพบการระบาด

          การใส่ปุ๋ย

          1. ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ในขั้นตอกเตรียมดิน อัตรา 500-1,000 กก./ไร่

          2. ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 , 15-7-15 อัตรา 25-50 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง

          การเก็บเกี่ยว

          การเก็บเกี่ยวจะใช้แรงงานคน และเครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเดือนธันวาคม – เมษายน จำหน่ายเป็นมันเส้นและมันหัวสด

3 ผลผลิต

          ปริมาณผลผลิตในพื้นที่รวม (Supply) 120,827 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของจังหวัด 3.5 กก./ไร่ ผลผลิตส่วนมากจะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน ธันวาคม – เมษายน

ข้อมูลการตลาด

– มันสำปะหลัง  

          การรับซื้อผลผลิตมันสำปะหลังในอำเภอขุนหาญ ส่วนมากเกษตรกรจะจำหน่ายเป็นหัวมันสด(คละ) ผลผลิตส่วนใหญ่จะออกสู่ตลาดช่วงเดือนมกราคม – เมษายน มีปริมาณผลผลิตในแต่ละช่วงเดือน ดังนี้

                   เดือนมกราคม              มีปริมาณผลผลิตสู่ตลาด  31,817 ตัน

                   เดือนกุมภาพันธ์            มีปริมาณผลผลิตสู่ตลาด  33,010 ตัน

                   เดือนมีนาคม               มีปริมาณผลผลิตสู่ตลาด  35,980 ตัน

                   เดือนเมษายน              มีปริมาณผลผลิตสู่ตลาด  20,020 ตัน

การวิเคราะห์หาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน

– มันสำปะหลัง           จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าอุปสงค์ (Supply) มีมากถึง 120,827 ตัน/ปีเพาะปลูก ส่วนอุปทาน (Demand) ความต้องการหัวมันสดของลานมัน/โรงงานแป้งมัน มีจำนวน 199,500 ตัน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ประมาณ 78,673 ตัน

จุดรับซื้อผลผลิต/โรงงานแปรรูป

          -มันสำปะหลัง

แหล่งรับซื้อที่มีความสำคัญในอำเภอขุนหาญ มี 9 แห่ง ดังนี้

ข้อมูลด้านคน/เกษตรกร

          4.1 สภาพปัญหาความต้องการ

                   – ปัญหาการขาดแคลนตลาดสินค้ากลางและราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ

                   – ปัญหาเสื่อมโทรมของดินและน้ำที่เป็นปัจจัยสำคัญในด้านการเกษตรกรรม

                   – ปัญหาการทำการเกษตรลงทุนสูง พึ่งพาสารเคมี

                   – ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ

                   – ปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ

                   – ปัญหาโรคแมลงทำลายพืช

                   – ปัญหาแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ไม่เพียงพอในฤดูแล้ง

          4.2 ความพร้อมทักษะความชำนาญ

          – การปลูกพืชตรงตามความเหมาะสมของสภาพดิน

          – การใช้เครื่องจักรเพื่อลดการใช้แรงงานคน

          – การใช้พันธุ์/เมล็ดพันธุ์คุณภาพ

          – การดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยตรงตามระยะเวลา และปริมาณที่พืชต้องการ

          – แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันละกันเสมอ

Smart Farmer ต้นแบบ

          – มันสำปะหลัง

          (1) นายถนอมศักดิ์  รีบรัด บ้านเลขที่ 47 หมู่ที่ 15 บ้านพรานใต้ตะวันตก ตำบลพราน อำเภอ     ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ หมายเลขบัตรประชาชน 3-3308-00041-16-1 มีความชำนาญด้าน

                   1. การคัดเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับพื้นที่

                   2. การใช้เครื่องจักร

                   3. การใช้ปุ๋ยตามสภาพดิน

                   4. เทคนิคการปลูกที่เพิ่มผลผลิต/ไร่

องค์กร/สถาบันเกษตรกร

          1. ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลโพธิ์วงศ์ (ศดปช.)

 สถานที่ดำเนินการ  ที่ตั้งศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลโพธิ์วงศ์ (ศดปช.)

          บ้านโนนแดง หมู่ที่ 7 ตำบลโพธิ์วงศ์ อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ สถานที่ดำเนินการ

พิกัดที่ตั้ง ศดปช. พิกัด X: 0442211 พิกัด Y : 1618959

          2. ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลไพร

สถานที่ดำเนินการ  ที่ตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลไพร (ศจช.)

          หมู่ที่ 6 บ้านปุน ตำบลไพร อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ

พิกัดที่ตั้ง ศจช. พิกัด X : 0437830  พิกัด Y : 1628821

3. ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลพราน

สถานที่ดำเนินการ  ที่ตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลพราน (ศจช.)

          หมู่ที่ 15 บ้านพรานใต้ตะวันตก ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ

พิกัดที่ตั้ง ศจช. พิกัด X : 0444766  พิกัด Y : 1614154

          4. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ข้าว)

สถานที่ดำเนินการ  ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ข้าว)

          หมู่ที่ 2 บ้านเดื่อ ตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ

พิกัดที่ตั้ง ศจช. พิกัด X : 0436166  พิกัด Y : 1622308 

พิกัดที่ตั้ง ศจช. พิกัด X : 0436166  พิกัด Y : 1622308 

การกำหนดพื้นที่เป้าหมายการผลิตสินค้าเกษตร                                                                          – มันสำปะหลัง

การหาพื้นที่เป้าหมายการผลิตทำโครงการซ้อนทับแผนที่ความเหมาะสมของดิน (Land Suitibility map) กับแผนที่แสดงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land use map) ของมันสำปะหลัง สรุปได้ดังนี้

          พื้นที่เหมาะสม (S1,S2)พื้นที่ 16,242 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 47 ของพื้นที่ทั้งหมด

พื้นที่ไม่เหมาะสม (S3,N) พื้นที่ 18,280 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 53 ของพื้นที่ทั้งหมด

ภาพ  แสดงพื้นที่ทับซ้อนระหว่างพื้นที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง อ.ขุนหาญ

จากแผนที่การทับซ้อนพื้นที่ระหว่างเขตความเหมาะสม และสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินพบว่า พื้นที่เหมาะสม (S1,S2)และมีการปลูกมันสำปะหลังจริงจำนวน 16,242 ไร่ อยู่ในพื้นที่ตำบลพราน ตำบลบักดอง ตำบลไพร ตำบลภูฝ้าย ตำบลโพธิ์วงศ์ ตำบลห้วยจันทร์ ตำบลโนนสูง ตำบลโพธิ์กระสังข์ และตำบลกันทรอม ซึ่งจากการวิเคราะห์ความสมดุลอุปสงค์อุปทาน พบว่า ความต้องการรับซื้อของตลาดมันสำปะหลังสูงกว่าปริมาณผลผลิตของเกษตรกร จำนวน 78,673 ตัน/ปี คิดเป็นพื้นที่ปลูกโดยประมาณ 22,478 ไร่

ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการปลูกมันสำปะหลัง 34,522 ไร่ ซึ่งมากกว่าพื้นที่ที่เหมาะสม(S1,S2) สำหรับการปลูกมันสำปะหลังของอำเภอขุนหาญ แต่ผลผลิตมันสำปะหลังก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จึงมีแนวทางการส่งเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการรับซื้อ ในเขตพื้นที่เหมาะสม และนอกเขตพื้นที่เหมาะสมดังนี้

1.เพิ่มปริมาณผลผลิต/ไร่ให้สูงขึ้น โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่เหมาะสม(S1,S2) โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น การคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของเกษตรกร การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต การดูแลรักษา กำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย ควบคุมโรคแมลงศัตรูมันสำปะหลัง การให้น้ำโดยระบบน้ำหยดในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำเพียงพอและเหมาะสม และการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องถูกเวลาเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ เปอร์เซ็นต์แป้งสูง เป็นที่ต้องการของแหล่งรับซื้อ 2.เพิ่มพื้นที่ปลูกในเขตพื้นที่ที่มีความเหมาะสม (S1,S2) ในเขตพื้นที่ตำบลพราน บักดอง กันทรอม ไพร และเขตพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ/ชลประทาน