ข้อมูลการปลูกยางพารา

ข้อมูลด้านการเกษตรที่สำคัญ

อำเภอขุนหาญ มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 309,266 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การปลูกข้าว มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวในปีเพาะปลูก 2558/2559 รวม 159,534 ไร่ พื้นที่ปลูกยางพารา 61,029 ไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 34,768 ไร่ และทุเรียน 2,582 ไร่ โดยจำแนกพื้นที่ทำการเกษตรที่สำคัญได้ ดังนี้

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ

ที่ ชนิดพืช  จำนวนราย  จำนวนไร่
1 ข้าวนาปี 11,480 159,534
2 ยางพารา 4,232 61,029
3 มันสำปะหลัง 3,164 34,768
4 ทุเรียน 322 2,582

ที่มา:สำนักงานเกษตรอำเภอขุนหาญ

พื้นที่ตามเขตความเหมาะสม

– ยางพารา

ตามการจำแนกพื้นที่เขตความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกยางพาราของกรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกิดจากการนำข้อมูลความเหมาะสมของดินในแต่ละชนิดพืช  มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลปัจจัยการเจริญเติบโตของพืช แบ่งเกณฑ์ความเหมาะสมออกเป็น 2 ระดับ คือ S2 และ N ไม่เหมาะสม ซึ่งอำเภอขุนหาญ มีการกำหนดพื้นที่การจัดการตามความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกยางพารา ทั้งหมด 346,683 ไร่ เป็นพื้นที่ เหมาะสมปานกลาง (S2) 104,205 ไร่ และ            ไม่เหมาะสม (N) 204,478 ไร่ สามารถจำแนกพื้นที่เป็นรายตำบลได้ ดังนี้

ภาพ  แสดงพื้นที่ความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา อำเภอขุนหาญ

ตาราง   แสดงข้อมูลพื้นที่จำแนกตามความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา อำเภอขุนหาญ

สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน

– ยางพารา

อำเภอขุนหาญ มีพื้นที่เพาะปลูกข้าว(ข้อมูลการเพาะปลูก ปี 2559/60)ทั้งหมด 52,259 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 12 ตำบล จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 4,617 ครัวเรือน จำแนกพื้นที่เพาะปลูก   เป็นรายตำบล ดังนี้

ตาราง   แสดงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ปลูกยางพารา อำเภอขุนหาญ

ภาพ   แสดงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ปลูกยางพารา อำเภอขุนหาญ

ข้อมูลด้านสินค้า

2 ข้อมูลการผลิต

– ยางพารา

พื้นที่เพาะปลูกยางพารา (ข้อมูลการเพาะปลูก ปี 2559/60) ทั้งหมด 52,259 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 12 ตำบล 145 หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 4,617 ครัวเรือน ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งในพื้นที่อำเภอขุนหาญ  ที่มีพื้นที่การเพาะปลูกรองลงมาจากข้าว โดยช่วงเริ่มเปิดหน้ายางส่วนใหญ่จะเข้าช่วงฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว และปิดหน้ายางช่วง ปลายฤดูหนาว-ปลายฤดูร้อน อายุต้นยางที่สามารถเปิดกรีดได้เฉลี่ย 7 ปี ผลผลิตเฉลี่ยเศษยาง 1,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี โดยราคายางพาราอ้างอิงจากราคาประมูลตลาดกลางยางพาราจังหวัดสุราษฏร์ธานี ดังนี้

ประเภท ราคา(บ./กก)
ยางแผ่นดิบ 1-3% 67.87
ยางแผ่นดิบ 3-5% 67.37
ยางแผ่นดิบ 5-7% 66.37
ยางแผ่นรมควันชั้น3  –
ราคาท้องถิ่นเฉลี่ย  –
น้ำยางสด ณ โรงงาน 59
เศษยาง ณ โรงงาน 25

ที่มา : ตลาดกลางยางพาราจังหวัดสุราษฏร์ธานี

                                                            ณ.วันที่ 9 พฤษภาคม 2560

พันธุ์ยางพารา
หลักในการเลือกใช้พันธุ์ยาง

         เนื่องจากผลผลิตน้ำยางหรือเนื้อไม้ที่ได้จากการปลูกยาง จะมากน้อยเพียงใดนั้น จะขึ้นกับปัจจัย 3 ประการ คือ พันธุ์ สภาพแวดล้อม และการปรับตัวของพันธุ์เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ดังนั้นการจะ ตัดสินใจว่าจะเลือกปลูกยางพันธุ์ใดนั้น ควรยึดถือหลักการว่า จะต้องเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดและมี ความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ของเกษตรกรผู้ปลูก ซึ่งควรมีการพิจารณาตามขั้นตอน ดังนี้

         1. พิจารณาว่าพื้นที่ปลูก มีสภาพแวดล้อมใดที่ไม่เหมาะสม เป็นข้อจำกัดที่มีความรุนแรงมาก น้อยเพียงใด สามารถแก้ไขได้หรือไม่ และส่งผลกระทบต่อการให้ผลผลิตมากน้อยเพียงใด เช่น เป็น พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคใดรุนแรง พื้นที่ที่มีลมแรง หรือพื้นที่มีความลาดชันสูง หน้าดินตื้น

         2. พิจารณาลักษณะประจำพันธุ์แต่ละพันธุ์ จากเอกสารคำแนะนำพันธุ์ยางของสถาบันวิจัยยาง โดยเฉพาะลักษณะที่อ่อนแอต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นข้อจำกัด แล้วคัดเลือกพันธุ์ที่สามารถปลูกในพื้นที่ นั้น ๆ ได้

          3. ลำดับที่ของพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง จากเอกสารคำแนะนำพันธุ์ยาง แล้วเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิต สูงสุด ถือว่าเป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ดังกล่าว
         นอกจากนี้แล้ว ในการปลูกยางในพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ ควรปลูกยางหลายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ไม่ น้อยกว่า 14 ไร่หรือ 1 แปลงกรีด เนื่องจากเมื่อเกิดการระบาดของโรค การปลูกยางเพียงพันธุ์เดียว จะทำให้การระบาดของโรคมีความรุนแรงมากขึ้น

พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก         สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำคำแนะนำพันธุ์ยางแก่เกษตรกรทุก ๆ 4 ปี โดยใช้ ข้อมูลจากผลงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยาง เพื่อแนะนำพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลักตั้งแต่ปี 2504 เป็นต้นมา แต่เนื่องจากปัจจุบันไม้ยางพารามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ ของประเทศ ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากผลผลิตเนื้อไม้เพิ่มขึ้น ดังนั้นคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2546 สถาบันวิจัยยางจึงได้เปลี่ยนแปลงคำแนะนำจากเดิม โดยแบ่งพันธุ์ยางแนะนำเป็น 3 กลุ่ม คือ พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง และพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตเนื้อ ไม้สูง เพื่อให้เกษตรกรเลือกพันธุ์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการปลูก

พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามวัตถุประสงค์ของการปลูก ดังนี้

พันธุ์ยางในแต่ละกลุ่มที่แนะนำ จะแบ่งเป็น 2 ชั้น ตามรายละเอียดของข้อมูล ดังนี้

ฤดูปลูก

ปฏิทินการปลูกสร้างและปฏิบัติดูแลรักษาสวนยางพารา

การกรีดยา     

การกรีด หมายถึงการนำผลผลิตน้ำยางออกมาจากต้นยาง ซึ่งเจ้าของสวนยางควรศึกษาและวิธีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตที่มากแบบยั่งยืนไม่ทำให้ต้นยางเสียหาย มีอายุการกรีดนาน การเจริญเติบโตของต้นยางดี ขายไม้ได้ราคาเมื่อโค่นล้มเพื่อปลูกแทนใหม่ ยางพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูงจำเป็นต้องใช้วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง จึงจะได้ผลคุ้มค่า การเลือกใช้วิธีการต่างๆ เช่น การเปิดกรีด วิธีการกรีด ระบบกรีด และมีดกรีดยางที่ถูกต้อง สามารถที่จะรักษาต้นยางเพื่อให้กรีดได้นาน  แต่หากใช้วิธีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง  นอกจากได้น้ำยางน้อยแล้วยังทำให้ต้นยางเสียหาย เป็นเหตุให้รายได้ของเกษตรกรลดน้อยลงด้วย  โดยการกรีดยางจะต้องยึดหลักที่ว่า เมื่อกรีดแล้วต้องได้น้ำยางมาก เปลือกเสียน้อยที่สุด แล้วยังสามารถกรีดได้นาน 25-30 ปี

การเปิดกรีดมีข้อแนะนำดังนี้

        – โดยทั่วไปต้นยางเปิดกรีดได้เมื่ออายุประมาณ 7 ปีครึ่ง ขนาดเส้นรอบต้นไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร ความสูง 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน
        – ต้นยางในสวนต้องมีขนาดเปิดกรีดได้มากกว่า 70 % ของยางทั้งหมด
        – เปิดกรีดครึ่งลำต้นที่ระดับความสูง 150 เซนติเมตร จากพื้นดิน รอยกรีดทำมุม 30 องศากับแนวระนาบ และเอียง จากซ้ายบน ลงมาขวาล่าง
        – ติดรางรองรับน้ำยาง ห่างจากรอยกรีดด้านหน้าลงมาประมาณ 30 เซนติเมตร และติดลวด รับถ้วยน้ำยาง ให้ห่าง จากราง รับน้ำยางลง มาประมาณ 10 เซนติเมตร
        – ถ้าไม่กรีดยางควรคว่ำถ้วยไว้เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรก ตกลงไปใน ถ้วยรับน้ำยาง
        – ควรเริ่มกรีดยางตั้งแต่ตอนเช้า ประมาณ 06.00-08.00น. เพราะจะทำให้ปฏิบัติงานได้สะดวก เนื่องจากมองเห็นชัดเจนกว่ากลางคืนและผลผลิตที่ได้ใกล้เคียงกับการกรีดในตอนกลางคืน
การกรีดยางที่เหมาะสม แนะนำการกรีด 5 วิธี คือ

1.กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นสองวัน
2.กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน
3. กรีดครึ่งลำต้นสองวันเว้นหนึ่งวัน
4. กรีดหนึ่งในสามของลำต้นสองวันเว้นวัน
5.กรีดหนึ่งในสามของลำต้นวันเว้นวันควบคู่กับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์

โดยระบบกรีดเหล่านี้ ให้ผลผลิตต่อครั้งกรีดดี ความสิ้นเปลืองเปลือกต่อปีน้อย เปลือกงอกใหม่หนาพอเมื่อกลับมากรีดใหม่ได้ ปริมาณเนื้อยางแห้งดี และต้นยางมีอาการเปลือกแห้งน้อย
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกรีด

        ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกรีดที่มีผลต่อผลผลิต มีดังนี้
        1. ความลึกของการกรีด ความหนาแน่นของจำนวนท่อน้ำยางมีมากบริเวณเปลือกชั้นใน และมีมากที่สุดบริเวณใกล้เยื่อเจริญ การกรีดยางจะเหลือส่วนของเปลือกชั้นในสุดถึง 1.3 มิลลิเมตร ซึ่งยังคงเหลือวงท่อน้ำยางไว้บนต้น โดยไม่ได้กรีดถึงร้อยละ 50 และเป็นท่อน้ำยางที่สมบูรณ์ที่สุด แต่ถ้ากรีดเหลือ 1 มิลลิเมตรจากเยื่อเจริญ จะกรีดได้ร้อยละ 52 ของท่อน้ำยาง หรือถ้ากรีดเหลือ0.5 มิลลิเมตร จะตัดวงท่อน้ำยางได้ถึงร้อยละ 80 ดังนั้น การกรีดให้ไดน้ำยางมากจึงควรกรีดให้ใกล้เยื่อเจริญมากที่สุด  แต่หากกรีดลึกเกินไปหน้ายางจะเป็นแผล เปลือกงอกใหม่ ไม่สามารถกรีดต่อไปได้ การกรีดจะกรีดได้ลึกหรือไม่นั้น ขึ้นกับความชำนาญของคนกรีด
         2. ขนาดของงานกรีด หมายถึง จำนวนต้นยางที่คนกรีดสามารถกรีดได้แต่ละวัน ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของต้นยาง ความยาวรอยกรีด ลักษณะของพื้นทื่ ความชำนาญของคนกรีด และช่วงเวลาการไหลของน้ำยาง ปกติการกรีดครึ่งลำต้น คนกรีดคนหนึ่งสามารถกรีดได้ 450-500 ต้นต่อวัน และการกรีด และการกรีด 1/3 ของลำต้น คนกรีดคนหนึ่งสามารถกรีดได้ 650-700 ต้นต่อวัน
        3. เวลาที่เหมาะสมสำหรับกรรีดยาง ผลผลิตน้ำยางจะขึ้นอยู่กับความเด่งของเซลล์ ซึ่งมีผลต่อความดันภายในท่อน้ำยาง ในช่วงกลางวันความเด่งของเซลล์จะลดต่ำลง สาเหตุมาจากการคายน้ำ โดยจะเริ่มลดต่ำหลังดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงเวลา 13.00-14.00 น. จะลดลงต่ำสุด หลังจากนั้นจะเริ่มเพิ่มขึ้นจนกลับสภาพเดิมเมื่อเวลากลางคืน
        4. ความสิ้นเปลืองเปลือก การกรีดเปลือกหนาหรือบาง ไม่มีผลกระทบต่อผลผลิต การกรีดที่ใช้ความถี่ของการกรีดต่ำจะสิ้นเปลืองเปลือกต่อครั้งกรีดมากกว่าการกรีดที่ใช้ความถี่ของการกรีดสูง แต่เมื่อรวมความสิ้นเปลืองเปลือกทุกครั้งที่กรีดแล้วจะน้อยกว่า ถ้าหากความสิ้นเปลืองเปลือกในรอบปีของการกรีดวันเว้นวัน (d/2) คือ ร้อยละ 100 การกรีดวันเว้น 2 วัน สิ้นเปลืองเปลือกร้อยละ 75 และการกรีดวันเว้น 3 วัน สิ้นเปลืองเปลือกร้อยละ 60 การกรัด 2 เว้นวัน สิ้นเปลืองเปลือกร้อยละ 140 การกรีด 3 วันเว้นวัน สิ้นเปลืองร้อยละ 150 และการกรีดทุกวัน สิ้นเปลืองเปลือกร้อยละ 190 โดยปกติการกรีด วันเว้นวัน สิ้นเปลืองเปลือก แต่ละครั้งกรีดระหว่าง 1.7-2.0 มิลลิเมตร หรือไม่เกิน 25 เซนติเมตรต่อปี
        5. ความคมของมีด มีดกรีดยางควรลับให้คมอยู่เสมอ เพราะจะทำให้ตัดท่อน้ำยางดีขึ้นและสิ้นเปลืองเปลือกน้อยกว่าการใช้มีดกรีดยางที่ไม่คม

ข้อมูลการตลาด

ยางพารา

         การรับซื้อยางพาราในอำเภอขุนหาญส่วนใหญ่จะซื้อในรูปเศษยางก้อนถ้วย (สด,ค้างคืน) โดยปริมาณผลผลิตเศษยางก้อนถ้วยที่ได้ 50,932 ตัน/ปี ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะขายในพื้นที่อำเภอขุนหาญ โดยจะมีลานรับซื้อเกือบทุกที่ในแต่ละตำบล และพ่อค้าคนกลางก็จะรวบรวมปริมาณยางก้อนถ้วยส่งเข้าโรงงานในพื้นที่ใกล้เคียงเช่น อำเภอกันทรลักษณ์ โรงงานยางพาราบุรีรัมย์ หรือในพื้นที่ภาคใต้ ต่อไป ผลผลิตน้ำยางก้อนถ้วยสามารถจำแนกออกเป็นตำบลได้ ดังนี้

การวิเคราะห์หาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน

          จะพบว่าอุปสงค์(Supply) ของยางพาราในอำเภอขุนหาญ 50,932 ตัน/ปี ส่วนอุปทาน(Demand) ความต้องการน้ำยางสดก้อนถ้วยของลานรับซื้อ/โรงงาน จะมีตลอดเวลา แต่ปัจจัยหลักคือด้านราคาน้ำยางสดก้อนถ้วยต่ำ ไม่คุ้มต่อแรงงานกรีดยาง ที่ไม่จูงใจในการผลิตน้ำยางสดก้อนถ้วย

จุดรับซื้อผลผลิต/โรงงานแปรรูป

ข้อมูลด้านคน/เกษตรกร

          4.1 สภาพปัญหาความต้องการ

                   – ปัญหาการขาดแคลนตลาดสินค้ากลางและราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ

                   – ปัญหาเสื่อมโทรมของดินและน้ำที่เป็นปัจจัยสำคัญในด้านการเกษตรกรรม

                   – ปัญหาการทำการเกษตรลงทุนสูง พึ่งพาสารเคมี

                   – ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ

                   – ปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ

                   – ปัญหาโรคแมลงทำลายพืช

                   – ปัญหาแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ไม่เพียงพอในฤดูแล้ง

          4.2 ความพร้อมทักษะความชำนาญ

          – การปลูกพืชตรงตามความเหมาะสมของสภาพดิน

          – การใช้เครื่องจักรเพื่อลดการใช้แรงงานคน

          – การใช้พันธุ์/เมล็ดพันธุ์คุณภาพ

          – การดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยตรงตามระยะเวลา และปริมาณที่พืชต้องการ           – แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันละกันเสมอ

Smart Farmer ต้นแบบ

ยางพารา

          (1) นายปริชาติ  ม่วงปลอด บ้านเลขที่ 193 หมู่ที่ 2 บ้านเขวา ตำบลโพธิ์วงศ์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ มีความชำนาญด้าน

                   1. การผลิตยางพารา

                   2. มีแหล่งจำหน่ายที่แน่นอน

                   3. เป็นอาสาสมัครเกษตรหมู่

                   4. มีเทคนิคการเพิ่มผลผลิต/ไร่

                   5 มีการลดต้นทุนการผลิต โดยผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง

องค์กร/สถาบันเกษตรกร

          1. ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลโพธิ์วงศ์ (ศดปช.)

 สถานที่ดำเนินการ  ที่ตั้งศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลโพธิ์วงศ์ (ศดปช.)

          บ้านโนนแดง หมู่ที่ 7 ตำบลโพธิ์วงศ์ อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ สถานที่ดำเนินการ

พิกัดที่ตั้ง ศดปช. พิกัด X: 0442211 พิกัด Y : 1618959

          2. ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลไพร

สถานที่ดำเนินการ  ที่ตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลไพร (ศจช.)

          หมู่ที่ 6 บ้านปุน ตำบลไพร อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ

พิกัดที่ตั้ง ศจช. พิกัด X : 0437830  พิกัด Y : 1628821

3. ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลพราน

สถานที่ดำเนินการ  ที่ตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลพราน (ศจช.)

          หมู่ที่ 15 บ้านพรานใต้ตะวันตก ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ

พิกัดที่ตั้ง ศจช. พิกัด X : 0444766  พิกัด Y : 1614154

          4. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ข้าว)

สถานที่ดำเนินการ  ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ข้าว)

          หมู่ที่ 2 บ้านเดื่อ ตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ พิกัดที่ตั้ง ศจช. พิกัด X : 0436166  พิกัด Y : 1622308

  

การกำหนดพื้นที่เป้าหมายการผลิตสินค้าเกษตร

 – ยางพารา

การหาพื้นที่เป้าหมายการผลิตทำโครงการซ้อนทับแผนที่ความเหมาะสมของดิน (Land Suitibility map) กับแผนที่แสดงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land use map) ของยางพารา สรุปได้ดังนี้    

          พื้นที่เหมาะสม (S1,S2)พื้นที่ 77,605 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.48 ของพื้นที่ทั้งหมด     

พื้นที่ไม่เหมาะสม (ป่าไม้,N,S3) พื้นที่ 498,180 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 86.52 ของพื้นที่ทั้งหมด

ภาพ  แสดงพื้นที่ทับซ้อนระหว่างพื้นที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกยางพารา อ.ขุนหาญ

จากแผนที่การทับซ้อนพื้นที่ระหว่างเขตความเหมาะสม และสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินพบว่า พื้นที่เหมาะสม (S1,S2)และมีการปลูกยางพาราจริงจำนวน 77,605 ไร่ อยู่ในพื้นที่ตำบลสิ ตำบลพราน ตำบลบักดอง ตำบลไพร ตำบลกระหวัน ตำบลภูฝ้าย ตำบลโพธิ์วงศ์ ตำบลห้วยจันทร์ ตำบลขุนหาญ ตำบลโนนสูง         และตำบลกันทรอม ซึ่งจากการวิเคราะห์ความสมดุลอุปสงค์อุปทาน พบว่า ความต้องการรับซื้อของลานรับซื้อยางพาราก้อนถ้วย มีตลอดปีแต่ราคาตกต่ำ ซึ่งปริมาณผลผลิตของเกษตรกรเพื่อจำหน่าย จำนวน 50,932 ตัน/ปี คิดเป็นพื้นที่ปลูกโดยประมาณ 50,932 ไร่

ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการปลูกยางพารา 142,204 ไร่ ซึ่งมากกว่าพื้นที่ที่เหมาะสม(S1,S2) สำหรับการปลูกยางพาราของอำเภอขุนหาญ และผลผลิตยางพาราก้อนถ้วยราคาตกต่ำเกินความต้องการของลานรับซื้อในพื้นที่ จึงมีแนวทางการส่งเสริมลดผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการรับซื้อ ในเขตพื้นที่เหมาะสม และนอกเขตพื้นที่เหมาะสมดังนี้

     1. เพิ่มปริมาณผลผลิต/ไร่ให้สูงขึ้น โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราก้อนถ้วยในพื้นที่เหมาะสม(S1,S2) โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี เช่น

1. รักษาความชื้นของหน้าดิน โดยการถางหญ้าอย่างถูกวิธีตามฤดูกาล
2. ใส่ปุ๋ยชีวภาพปีละ 2 ครั้ง (100-300 กก./ไร่/ปี)
3. รดหรือพ่นน้ำหมักฮอร์โมน เดือนละ 2 ครั้ง ในช่วงที่ดินมีความชื้น
4. ใส่ปุ๋ยเคมีโดยตรวจสอบแร่ธาตุในดินก่อน แล้วเติมแร่ธาตุที่ยังขาดอยู่เท่านั้นเพื่อลดต้นทุน

ความต้องการแร่ธาตุของต้นยางพาราหลังเปิดกรีดแล้วเป็นดังนี้ (คิดที่ยางให้ผลผลิต 300 กก./ไร่)

– N 20 กก., P 5 กก.,K 25 กก.,Mg 5 กก.  หากผลผลิตเพิ่มมากกว่านี้เช่น 600 กก./ไร่/ปี เราจะต้องเพิ่มปุ๋ยอีกเป็น 2 เท่า หรือโดยสรุปต้องใส่ปุ๋ยเคมี 4 กก./ต้น/ปี เมื่อผลผลิตที่ได้ 600 กก./ไร่/ปี จึงจะเพียงพอเพื่อชดเชยกับผลผลิตที่เราเอาออกจากต้นยาง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราบริหารจัดการอย่างถูกวิธี อาจลดปุ๋ยลงเหลือเพียง 2 กก./ต้น เมื่อเราใส่ปุ๋ยหมัก ผสมภูไมท์ในปุ๋ยเคมีเพื่อดูดซับแร่ธาตุไว้และค่อย ๆ ปลดปล่อยอย่างช้า ๆ ใส่ปุ๋ยโดยขุดร่องแล้วฝังกลบเพื่อป้องกันการระเหยของปุ๋ย ซึ่งอาจสูญเสียได้ถึง 30 %

               5. การกรีดยางต้องกรีดให้ถึงเยื่อเจริญ ซึ่งทำให้ท่อน้ำเลี้ยงขาดเสียหายไม่สามารถส่งขึ้นไปสังเคราะห์น้ำยางที่ทรงพุ่มได้ ผลผลิตลดลง ต้นแคระแกรน รักษาหน้ายางให้ปราศจากโรครา โดยใช้สารชีวภาพทาหน้ายางเดือนละ 2 ครั้ง เลื่อนหน้ายางให้ถูกแนวกล่าวคือเมื่อขึ้นหน้าใหม่ต้องเลือนถอยหลัง(ตามเข็มนาฬิกา) มิเช่นนั้นจะเป็นการตัดท่อน้ำยางก่อนถึงรอยกรีด

               6. ป้องกันการขโมยน้ำยางจากบุคคลภายนอก หรือแม้แต่คนกรีดเอง                                        

               7. การเปิดรอปแต่ละครั้ง ให้เปิดกรีดต้นฤดูฝนเมื่อดินมีความชื้นพอสมควรแล้ว และหยุดกรีดเมื่อยางเริ่มผลัดใบ มิใช่ยางผลัดใบและเริ่มแตกใบอ่อนแล้ว เพราะเมื่อยางผลัดใบแล้วก็ไม่มีใบที่จะสังเคราะห์แสง ผลผลิตที่ได้ในช่วงนี้ควรให้ต้นยางได้เก็บสะสมไว้ในลำต้นเพื่อการแตกใบใหม่เถอะ ใบใหม่ที่แตกออกมาจะได้แข็งแรงไม่เป็นโรคง่าย
               8.กรีดระบบ 1 วัน เว้น 2 วัน มิเช่นนั้นอาจเจอปัญหาหน้าแห้ง ยางไม่เติบโต ต้นเล็กแคระเกร็น ยางที่อายุ 15 ปี ควรมีเส้นรอบลำต้นไม่น้อยกว่า 100 ซม.
                 9. เมื่อสภาพดินพร้อม ต้นยางโตได้ขนาด(เส้นรอบลำต้น 60 ซม. ขึ้นไป) ก็ใช้ฮอร์โมนแอทธิลีนเพิ่มศักยภาพการผลิต อย่ากลัวหน้าแห้ง หรือ ต้นยางตายเลย ทุกสิ่ง ทุกอย่างอยู่ที่การบริหารจัดการ ระบบดีแต่ใช้ผิดวิธีก็เสียหาย

     2. ลดพื้นที่ปลูกในเขตพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม (S3,N) ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเกษตร เช่น ปรับเป็นพื้นที่วนเกษตร สวนผลไม้ หรือมันสำปะหลัง หรือเพิ่มกิจกรรมในพื้นที่ให้มีความหลากหลาย เพื่อลดการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวลดความเสี่ยงที่เกษตรกรจะได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ