1.จังหวัดศรีสะเกษ Smart Farmer ต้นแบบด้านไม้ผล
1. สวนทุเรียน
2.ข้อมูล Smart Farmer ต้นแบบ
2.1 ชื่อ นายเสริม หาญชนะ เลขบัตรประจำตัวประชาชน
2.2 วัน 13 เดือน พฤษภาคม ปีเกิด 2493
2.3 ระดับการศึกษา ประถมศึกษาปีที่ ๖ จาก จบการศึกษาจาก กศน.ขุนหาญ
2.4 ที่อยู่ เลขที่ 52/3 หมู่ 8 ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
2.5 เบอร์โทรศัพท์ 088 3448411
2.6 เข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง Smart Farmer พ.ศ 2561
3.ปัจจัยความสำเร็จในการประกอบอาชีพของ Smart Farmer ต้นแบบ
3.1 การใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในการผลิตหรือมีการปรับปรุงวิธีการผลิต
– ใช้การผลิตที่ถูกหลักการเกษตรที่ดีและเหมาะสม(GAP) กรมวิชาการ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้ออกมาปฏิบัติงานให้คำแนะนำ ส่งเสริมในด้านการบริหารจัดการสวนไม้ผลในเรื่องของการปฏิบัติจริง ให้ถูกหลักการของความปลอดภัยจากสารเคมี และมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อยู่เป็นประจำ จนได้รับการตรวจประเมินแปลง ผ่านการตรวจประเมินแปลงตามข้อกำหนดของกรมวิชาการเกษตร ได้รับใบรับรองแหล่งผลิตพืช(GAP) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548
– มีการบริหารจัดการการผลิตและการตลาดที่ดี(แผนการผลิต และการตลาด)
การวางแผนการผลิตและการตลาดภายในสวน โดยยึดหลักการปฏิบัติตามปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษาสวน ในแต่ละช่วงเดือนจากหลังการเก็บเกี่ยว จนถึงการเก็บเกี่ยวในแต่ละปี โดยอาศัยหลักวิชาการและประสบการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกันในการปฏิบัติงานในสวน ทำให้ประสบปัญหาน้อยมาก(ยกเว้นการเกิดภัยธรรมชาติ)
3.2 การจัดการด้านการตลาด
การจำหน่ายที่หน้าสวนโดยจัดเป็นตลาดกลาง ของชุมชน ในหมู่บ้านนำผลผลิต มาจำหน่ายที่หน้าสวนร่วมกัน จะมีพ่อค้าและผู้บริโภคทั่วไปมาเที่ยวชมสวนและซื่อผลผลิตทางการเกษตร จากสวนอยู่ตลอดเวลา ในช่วงฤดูการผลิต และมีคณะศึกษาดูงานได้เข้ามาเที่ยวชมสวน พร้อมซื้อผลผลิตทางการเกษตรจากสวน ติดไม้ติดเมือกลับไปด้วย อีกส่วนหนึ่งก็มีคณะแลนลี่จากการจัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งได้จัดโครงการ “อิ่มไปทุกไร่ ชิมไปทุกสวน” ซึ้งเป็นนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ศรีสะเกษ นอกจากนั้นยังได้นำผลผลิตไปจำหน่ายร่วมกับงาน เงาะ – ทุเรียน และของดีศรีสะเกษ เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการรักษาประเพณีและประชาสัมพันธ์สวนไม้ผลไปในตัว โดยส่วนใหญ่ก็จำหน่ายให้พ่อค้าที่มารับซื้อถึงสวนคราวละมากๆ โดยคิดราคาในรูปของกลุ่ม โดยกลุ่มจะกำหนดราคา ในการจำหน่ายให้เท่ากัน ในตอนนี้กลุ่มมีการวางแผนการตลาดในลักษณะคู่ค้าโดยการจัดส่งผลผลิตตามใบสั่งของ เหมือนการค้าทั่วๆไป
การใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงสภาพการผลิต ปัจจุบันได้มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี หลังจากในอดีตนั้นทำการเกษตรแบบตามบรรพบุรุษ ไม่มีการนำเทคโนโลยีที่เป็นตัวเอื้อสำหรับการทำการเกษตรในยุกต์ปัจจุบัน ซึ่งก็ได้นำมาประยุกต์ใช้ไม่ว่าจะเป็นระบบการให้น้ำการให้ปุ๋ย การดูแลรักษาด้านอื่นๆ ตลอดจนระบบการตลาด ที่จะสามารถเอื้ออำนวยความสะดวกต่อตัวเอง และลูกค้าในด้านการบริการสินค้า
3.3 การแสวงหาความรู้
ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทั้งการหาข้อมูลมาศึกษาด้วยตนเองและการไปศึกษาดูงานสอบถามจากผู้รู้ผู้ที่มีความชำนาญในด้านที่ตนสนใจและเห็นว่ามีประโยชน์สามารถมาปรับใช้ในการบริหารจัดการสวนทุเรียนของตนเองได้ รวมทั้งการเข้ารับการฝึกอบรมสัมนาที่ทางราชและเอกชนการจัดขึ้น เพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้ให้มีความทันสมัยและทันต่อสถานการณ์อยู่ตลอด
4. การขยายผลสู่ชุมชน
4.1 เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ศพก.
4.2 เป็นแปลงต้นแบบการผลิตทุเรียนคุณภาพ
4.3 เป็นวิทยากรการผลิตทุเรียน
5. เจตนารมณ์ในการประกอบอาชีพการเกษตร
เดิมในพื้นที่ดินปัจจุบันมีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนใหญ่ และมันสำปะหลังบ้างบางส่วน ซึ่งดินตอนนั้นมีความอุดมสมบูรณ์มาก ปลูกพืชไม่ค่อยใช้ปุ๋ยเคมีมาเหมือนปัจจุบัน ในหนึ่งปีสามารถปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ ๒ ครั้ง คือต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน สามารถให้ผลผลิตดีมาก เพราะมีปริมาณน้ำฝนมาก ฝนตกต้องตามฤดูกาล ต่อมาสภาพปัจจัยเอื้อต่างๆ ไม่อำนวย เช่น ฝนทิ้งช่วงนาน เกิดสภาวะแห้งแล้ง ค่าแรงในการทำการเกษตรก็สูง ค่าเมล็ดพันธุ์แพง แมลงศัตรูพืชระบาด ค่าใช้จ่ายในส่วนของสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชก็แพงตามไปด้วย มีการปรึกษาหารือกับเพื่อนบ้านว่าควรจะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชใหม่ โดยหาพืชที่มีความยั่งยืนและมีความเสี่ยงน้อย เลยหันมาปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นและปลูกพืชผักแซมจนกว่าไม้ผลจะให้ผลผลิต
จึงเป็นจุดเริ่มต้นของอาชีพการเกษตรด้านการทำสวนไม้ผลเป็นต้นมา จนทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นมาเรื่อยๆ ตามลำดับ ซึ่งในช่วงที่ดำเนินการทำสวนไม้ผล ก็พบกับปัญหาอุปสรรคนานัปการ แต่ก็อาศัยความอดทนและศึกษาหาความรู้จากแหล่งผู้รู้ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรด้วยกันที่ประสบความสำเร็จและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอขุนหาญ โดยเกษตรอำเภอขุนหาญและเจ้าหน้าที่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบตำบลและเกี่ยวข้องการการผลิตไม้ผล ตลอดจนกรมวิชาการเกษตร คือ ศูนย์วิจัย พืชสวนศรีสะเกษ ซึ่งในส่วนที่กล่าวมานั้น ท่านก็ได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือด้านวิชาการและประสานงานให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี
6. รายได้ภาคการเกษตร 3,000,000 บาท/ปี
7. ที่มาของข้อมูล/ผู้ถอดองค์ความรู้ Smart Farmer
นายมงคลชัย ชุมโท่โล่ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
สำนักงานเกษตรอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
8. วัน เดือน ปี ที่ดำเนินการถอดองค์ความรู้
วันที่ 20 สิงหาคม 2562
ภาพประกอบกิจกรรมด้านการเกษตร
- ภาพผลิตภัณฑ์ /บรรจุภัณฑ์ /โลโก้
2. ภาพถ่ายเกษตรกร /ภาพสถานที่ศึกษาดูงาน
3. ภาพการเป็นวิทยากร /สำเนาหนังสือเชิญวิทยากร/เกียรติบัตร
4. เอกสารรับรองการได้รับรองมาตรฐาน
5. การบันทึกในระบบ Sisaketfarmermarket.com
6. การบันทึกในระบบ thaismartfarmer.net