ศพก ลุงเสริม

ชื่อ : ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อําเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

สินค้าหลัก : ทุเรียน

พื้นที่เป้าหมาย  : 2,280  ไร่      

เกษตรกรเป้าหมาย : 253  ราย

สถานที่ตั้ง : บ้านหนองเก่า  หมู่ที่ 8 ตําบลพราน  อําเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ

พิกัด :  แกนX :  445768     แกนY:  1611335   Zone 48 N

ระดับการพัฒนาของศูนย์ : ระดับ A

เกษตรกรต้นแบบเจ้าของศูนย์เรียนรู้ : นายเสริม  หาญชนะ  อายุ  69  

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ๕๓/๒ หมู่ที่ ๘ ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ   จังหวัดศรีสะเกษ 

เบอร์โทรศัพท์ :  088-344-8411

สถานการณ์ของพื้นที่ :

          เกษตรกรในพื้นที่ตำบลพรานส่วนใหญ่จะทำการเกษตรหลากหลายชนิดพืชเป็นต้นว่า ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ไม้ผล พืชผักต่าง ๆ และพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เพราะศักยภาพของภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะสม ตลอดจนโครงสร้างของดินมีหลายชนิดชุดดิน ทำให้มีการประกอบอาชีพหลากหลายชนิดกิจกรรมตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด ส่วนใหญ่ปลูกข้าว ร้อยละ ๗๐ และพื้นที่ปลูกเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว (S๑) ร้อยละ ๖๕ โดยปลูกข้าวเพื่อจำหน่ายและบริโภคในครัวเรือน ส่วนการปลูกไม้ผล พืชไร่ พืชเศรษฐกิจร้อยละ ๓๐ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสม (S๑) ดินมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ประสบปัญหาการผลิตยังไม่ได้มาตรฐานการใช้ปัจจัยการผลิตสูง ราคาปุ๋ยและสารเคมีแพง การระบาดของโรคแมลงศัตรูพืชมาก ระบบน้ำไม่พอเพียง

          ทุเรียน เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของตำบลพราน สร้างรายได้ให้เกษตรกรอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ปีละหลายร้อยล้านบาท ทำให้สภาพเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ดีขึ้น แต่ก็ประสบปัญหาด้านการผลิตที่ยังไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร การใช้ปัจจัยการผลิตสูง ราคาปุ๋ยและสารเคมีแพง การระบาดของโรคแมลง ระบบน้ำไม่เพียงพอ เกษตรกรขาดความรู้และประสบการณ์ด้านการผลิต และการตลาด

แนวทางการพัฒนา : การลดต้นทุนการผลิตทุเรียน เกษตรกรชาวสวนทุเรียน มีการใช้ต้นทุนการผลิตที่สูง จำเป็นต้องมีการศึกษาเรียนรู้และหาประสบการณ์ด้านการผลิต เช่น การผสมปุ๋ยใช้เอง,การผลิตสารชีวภัณฑ์,การใช้น้ำอย่างรู้ค่า,การวิเคราะห์ดิน,การตลาด

จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้ : เทคโนโลยีการผลิตทุเรียนคุณภาพ

          หลักสูตรเรียนรู้

  • การวิเคราะห์ดินเพื่อใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช
  • เทคโนโลยีการผลิตไม้ผลที่ปลอดภัยและได้คุณภาพมาตรฐาน
  • ศูนย์พืช/ศัตรูธรรมชาติ/การใช้สารชีวภัณฑ์
  • เทคนิคการเพิ่มผลผลิต/การเก็บเกี่ยว/การคัดแยก และการจำหน่ายผลผลิตตามชั้นคุณภาพของตลาด
  • เทคนิคการบริหารกลุ่มและการสร้างเครือข่าย
  • การจดบันทึกข้อมูล

ฐานเรียนรู้

  • การใช้น้ำอย่างรู้ค่า โดยเน้นการใช้น้ำแบบประหยัดแต่ได้คุณภาพสูง และการใช้น้ำให้ตรงตามความต้องการของพืชแต่ละช่วง เพื่อให้เกิดประโยชน์และประหยัดน้ำในช่วงที่มีน้ำน้อย

2. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการใช้พื้นที่ให้คุ้มค่าและให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้มีรายได้เสริมและการรู้จักออม พร้อมการทำกิจกรรมหลากหลายและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดรายได้อย่างสม่ำเสมอและมั่นคง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3 ดินและปุ๋ย โดยเน้นการตรวจสอบคุณภาพดิน ให้เก็บตัวอย่างดินไปตรวจค่า PH ของดิน ตรวจวัดค่าของธาตุอาหารในดิน ประสานกับสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อให้เกษตรกรได้ทราบคุณสมบัติของดินในแปลงที่ปลูกพืชและการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสม และตรงตามความต้องการของพืชแต่ละช่วง การปรับปรุงบำรุงดิน การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำน้ำหมักชีวภาพ ลดการใช้สารเคมี

4 การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช โดยเน้นการลดใช้สารเคมี เพิ่มการใช้สารชีวภาพ ,สารชีวภัณฑ์ สาธิตการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา , เชื้อราบิวเวอร์เรีย ป้องกันกำจัดเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากเน่า โคนเน่า และป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิด

  • การผลิตทุเรียนคุณภาพ โดยเน้นการบำรุงรักษาตามปฏิทินการปลูกพืช และการใช้อาหารเสริมให้ถูกช่วงระยะเวลา ก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว การทำให้ทุเรียนสมบูรณ์ การควบคุมระบบน้ำ การใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับความต้องการของพืช การเก็บเกี่ยวที่ถูกวิธีและระยะเวลาที่เหมาะสม การดูลักษณะทุเรียนแก่ การนับอายุหลังดอกบาน เป็นต้น

แปลงเรียนรู้

เครือข่าย : – กลุ่มผู้ปลูกไม้ผลบ้านหนองเก่า หมู่ที่ ๘ ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

              – กลุ่มผู้ปลูกไม้ผล บ้านน้ำมุด หมู่ที่ ๑๖ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร : เกษตรตำบลพราน