ชื่อ นายสมี สมเพ็ชร
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 199 บ้านจองกอ หมู่ 2 ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ความเป็นมา ลุงสมี สมเพ็ชร เป็นเกษตรกรชาวบ้านจองกอ ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ โดยกำเนิด ซึ่งการศึกษาเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านกันทรอม โดยเริ่มแรกพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ ได้ปลูกมันสำปะหลัง แต่ด้วยความที่มีใจรักการทำการเกษตรในตัวเองและชอบศึกษา ทดสอบ ชั่งสังเกต ในปี 2545 จึงได้ปรับเปลี่ยนมาทำสวนผลไม้ ได้แก่ ลำไย ทุเรียน เงาะ ลองกอง มังคุด ด้วยเหตุผลที่ว่า พื้นที่ปัจจุบันลักษณะโครงสร้างจะมีลานหินอยู่ด้านล่าง สามารถจัดการน้ำได้ ดินมีลักษณะอุ้มน้ำ ประกอบกับลำไยเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย ทนแล้ง โดยในปี 2545 ได้ทดลองปลูกลำไยในพื้นที่ก่อนประมาณ 10 ไร่ ปลูกทุเรียนประมาณ 7 ไร่ ปลูกเงาะ มังคุด ลองกองประมาณ 3 ไร่ และสังเกตการณ์เจริญเติบโต ความสามารถในการทดแล้ง ปรากฏว่าในช่วงแล้ง (มกราคม-พฤษภาคม) พืชจะใบร่วง ผลัดใบ แต่พอเริ่มเข้าฤดูฝน พืชก็จะฟื้นตัวและสามารถเจริญเติบโตได้ดี ปี 2546 จึงได้ขยายพื้นที่ปลูกลำไยเพิ่มอีกประมาณ 8 ไร่ และปี 2547 ได้ขยายพื้นที่เพิ่มอีกประมาณ 7 ไร่
การทำลำไย(ขุนหาญ) นอกฤดูในสวนลุง สมี สมเพ็ชร โดยปกติลำไยจะให้ผลผลิตในช่วงฤดูหนาว มกราคม – กุมภาพันธ์ แต่พบปัญหาคือ สภาพภูมิอากาศของจังหวัดศรีสะเกษจะไม่หนาวเย็นมาก เหมือนภาคเหนือ ส่งผลให้ลำไยติดดอกน้อย ผลผลิตตกต่ำ ประกอบกับช่วงฤดูหนาวลำไยจะออกสู่ตลาดมาก ทำให้สินค้าล้นตลาด ราคาตกต่ำ ลุงสมี สมเพ็ชร จึงเปลี่ยนแนวคิดใหม่มาทำลำไยนอกฤดู
ปัจจุบันสวนผลไม้ลุงสมี สมเพ็ชร มีผลไม้ พืชผักสวนครัว หลากหลายชนิด โดยพืชหลักที่สร้างรายได้ให้กับสวนลุงสมี สมเพ็ชร คือ ลำไย (พันธุ์อีดอ พวงทอง) ทุเรียน เงาะ ซึ่งจะมีพ่อค้ามารับซื้อผลผลิตถึงสวน ส่งผลให้ลุงสมี สมเพ็ชร และครอบครัวมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น องค์ความรู้ในการประกอบอาชีพและงานที่ภาคภูมิใจ
ลุงสมี สมเพ็ชร เกษตรกรสวนผลไม้ ได้จัดสรรแบ่งพื้นที่ของตัวปเองลูกผลไม้ คือ ปลูกลำไยประมาณ 25 ไร่ ปลูกทุเรียนประมาณ 7 ไร่ ปลูกเงาะ ลองกอง มังคุดประมาณ 3 ไร่ และปลูกพืชผักสวนครัวแซมในสวนผลไม้ อีกมากมายหลายชนิด
การผลิตลำไย(ขุนหาญ)นอกฤดู
การปลูก เลือกปลูกช่วงปลายฤดูฝน เดือน กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน แต่จะเน้นช่วง เดือนตุลาคม เนื่องจากมีแมลงทำลายน้อย ทำให้ลดการใช้สารเคมี และพอเข้าฤดูแล้งลำไยก็สามารถปรับสภาพตัวเองเพื่อให้อยู่รอด พอเข้าฤดูฝนลำไยก็จะเจริญเติบโต แตกยอดได้
เลือกพันธุ์ลำไยที่แข็งแรง ปราศจากเชื้อโรค โดยพันธุ์ที่ปลูกจะเป็นพันธุ์อีดอ พันธุ์พวงทอง
การขุดหลุม ลึกประมาณ 50 ซม. กว้าง 50-60 ซม. และรองพื้นก้นหลุมด้วยปุ๋ยมูลสัตว์
ระยะปลูก 8 x 8 เมตร
การให้น้ำ ลำไยเป็นพืชที่ทนแล้ง ในการปลูกนั้นช่วงแรกจะอาศัยน้ำฝน พอเข้าฤดูแล้งจะอาศัยน้ำหมอกและความชื้นในตอนเช้า ควบคู่กับการใช้เศษพืชคลุมดินเพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้นในดิน และถ้าพบต้นไหนที่ขาดน้ำก็จะให้น้ำไปจากแรงงานคนไปด้วย โดยสังเกตเห็นว่าภายในสวนลำไย จะไม่มีระบบให้น้ำ จะเน้นน้ำฝนเป็นส่วนใหญ่
ขั้นตอนการทำลำไย(ขุนหาญ) นอกฤดู
สรุปองค์ความรู้ที่ใช้
การผลิตลำไย(ขุนหาญ)นอกฤดู
การตลาดลำไย(ขุนหาญ)นอกฤดู
พ่อค้าท้องถิ่นมารับซื้อลำไยถึงสวน ซึ่งจะขายตามราคาตลาด
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1 การทำงานตามแผนงานที่วางไว้
2 เนื่องจากลุงสมี สมเพ็ชร เรียนจบประถมศึกษาปีที่ 4 ท่านจึงต้องรู้จักสังเกต ทดลอง ทดสอบ ลองผิดลองถูก เรียนรู้ และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมมาใช้กับสวนำลำไยตัวเอง 3 ใจรัก ทำแล้วมีความสุข